Skip to content

3 วัดดังในกรุงเทพฯที่ไม่ควรพลาด

    หากใครที่กำลังหาสถานที่สวย ๆ สถาปัตยกรรมโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์มีประวัติความเป็นมายาวนาน ในประเทศไทยเราเป็นประเทศที่มีวัดที่งดงามมากมายหลายแห่ง เป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตของชาวต่างชาติที่นิยมมาเยี่ยมชม ซึ่งวัดสำคัญๆ ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ที่กรุงเทพ ดังนี้วันนี้เราจะมาแนะนำ 3 วัดดังในกรุงเทพฯที่คุณไม่ควรพลาด พร้อมวิธีการเดินทางที่ง่ายและสะดวกเหมาะกับคนยุคนี้

    พระอารามหลวง หรือ วัดหลวง คือ วัดที่พระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์ทรงสร้าง หรือทรงบูรณปฏิสังขรณ์ หรือมีผู้สร้างน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นวัดหลวง และวัดที่ราษฎรสร้าง หรือบูรณปฏิสังขรณ์ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าจ านวนในบัญชีเป็นพระอารามหลวง การจัดล าดับชั้นของพระอารามหลวง เริ่มมีขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๘ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้ฯ ให้จัดระเบียบแบ่งชั้นพระอารามหลวงออกเป็นสามชั้น แต่ละชั้นยังแยกระดับออกไป

    วัดอรุณราชวราราม

    วัดอรุณฯ หนึ่งในวัดงามริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับความสวยงามของพระปรางค์ของอรุณที่เป็นเอกลักษณ์สวยงามโดดเด่นริมแม่น้ำ และอีกหนึ่งสิ่งที่รู้จักกันดีก็คือ ยักษ์วัดแจ้ง แต่นอกจากนี้ ที่วัดอรุณฯ ยังมีอีกหลายจุดที่ไม่ควรพลาด ไม่ว่าจะเป็นโบสถ์น้อย วิหารน้อย พระประธานในพระอุโบสถ เป็นต้น

    วัดอรุณ

    ภาพ th.trip.com/hot/วัดอรุณ/

    ประวัติความเป็นมาของวัด

    วัดอรุณราชวราราม หรือชื่อเดิมว่า วัดมะกอกนอก ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้มีการเปลี่ยนชื่อจากวัดมะกอกนอกมาเป็น วัดแจ้ง เพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าพระองค์ได้เสด็จมาถึงที่นี่ในยามแจ้ง ในสมัยกรุงธนบุรีวัดแจ้งถือเป็นวัดประจำวัง เพราะอยู่ในเขตของพระราชวังเดิม วัดแห่งนี้เดิมเคยเป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกตและพระบางอีกด้วย โดยได้อัญเชิญมายังประเทศไทยเมื่อครั้งที่เราไปตีเมืองเวียงจันทน์ในปี พ.ศ.2322 ในครั้งนั้นได้มีการจัดงานสมโภชพระแก้วและพระบางถึงสามวันสามคืน

    ต่อมาวัดแจ้งได้ถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 2 เนื่องจากในขณะที่พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเป็นวังหน้าในรัชกาลที่ 1 นั้น พระองค์ได้ประทับอยู่ที่พระราชวังเดิมแห่งนี้ และได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้เป็นการใหญ่ มีการจัดงานสมโภชใหญ่ถึง 7 วัน 7 คืน และพระองค์ยังได้เปลี่ยนชื่อวัดจากวัดแจ้งมาเป็น วัดอรุณราชธาราม และเปลี่ยนเป็น วัดอรุณราชวราราม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

    จุดเด่น
    เชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้จักวัดอรุณฯเป็นอย่างดี ด้วยความงดงามทางสถาปัตยกรรมอันประเมินค่าไม่ได้ พระปรางค์ใหญ่วัดอรุณฯ ถือได้ว่าเป็นศิลปกรรมที่มีความสง่าและโดดเด่นที่สุด ตั้งเด่นเป็นสง่าริมแม่น้ำเจ้าพระยาจนกลายเป็นสัญลักษณ์ความสวยงามเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน บนพระปรางค์ประดับด้วยเครื่องกระเบื้องเคลือบและเครื่องถ้วยชามเบญจรงค์ที่นำเข้ามาจากจีน ซึ่งมีลวดลายงดงามเป็นของเก่าแก่และหายาก
    บริเวณโดยรอบของพระปรางค์ประกอบด้วยพระปรางค์เล็ก 4 องค์ รอบ 4 ทิศ ภายในมีรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ กำแพงแก้วกั้น มีฐานทักษิณ 3 ชั้น มีรูปปั้นมารและกระบี่แบกฐานสลับกัน นอกจากนั้นมีซุ้ม 4 ซุ้ม มีพระนารายณ์อวตาร เหนือขึ้นไปเป็นยอดปรางค์ มีเทพพนมนรสิงห์เพื่อปราบยักษ์

    วัดอรุณเปิดให้เขาชมปกติตามเวลาทำการด้านล่าง

    • เวลาเปิด: ทุกวัน ตั้งแต่ 8.00 – 18.00 น.
    • ค่าเข้า: คนไทยฟรี ชาวต่างชาติคนละ 50 บาท
    • ที่อยู่: 158 ถ.วังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600
    • แผนที่ทางไป https://goo.gl/maps/nVyWHrbhzHMt775QA

    ที่จอดรถ
    ภายในงัดมีที่จอดรถน้อยมาก ๆ สำหรับการเดินทางมาที่วัดอรุณหากใครจะขับรถมา ถ้ามาในวันธรรมดาไม่ใช่วัดหยุดในช่วงเที่ยงจะมีที่จอดบ้าง แต่ถ้าไม่ใช่เวลาประมาณนี้แนะนำให้จอดไว้บริเวณแถววัดอรุณหรือบริเวณใกล้เคียงตามแนวริมถนนแล้วเดินเข้าไปที่วัดจะสะดวกกว่า แต่อย่างไรก็ตาม หากนั่งเรือข้ามฟากมาขากลับก็ไปเที่ยวชมวัดโพธิ์ได้อีก ที่จอดรถทางวัดตรงข้ามวัดอรุณจะมีที่จอดกว้าง ๆ เช่น ที่จอดหน่วยงานทหารเรือค่าจอดประมาณชั่วโมงละ 40 บาท หรือรถไฟฟ้า BTS แล้วต่อรถประจำทาง

    ทางเรือ : สามารถนั่งเรือด่วนเจ้าพระยามาลงที่ท่าเตียน แล้วหลังจากนั้นนั่งเรือข้ามฟากจากฝั่งพระนครมาลงท่าเรือหน้าวัดอรุณฯ ได้เลย
    ทางรถ : ขับตามถนนอรุณอมรินทร์ จะผ่านหน้าโรงพยาบาลศิริราช ให้ตรงมาเรื่อย ๆ ยังกรมอู่ทหารเรือ จะเจอทางเข้าวัดอรุณฯ อยู่ถัดไปไม่ไกลค่ะ
    วัดอรุณฯ เปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าเยี่ยมชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.30-17.30 น. (คนไทยเข้าชมฟรี ส่วนต่างชาติเสียค่าเข้าคนละ 100 บาทค่ะ)

    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์

    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือที่เรารู้จักกันว่า วัดโพธิ์ เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวทำบุญที่พลาดไม่ได้ในกรุงเทพฯ มีพระนอนองค์ใหญ่อันดับ 3 ของประเทศ และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1เป็นหนึ่งในปูชนียสถานที่สำคัญแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก คือ จารึกวัดโพธิ์ ที่ว่าด้วยภูมิปัญญาและสรรพศาสตร์แขนงต่างๆ ไม่เพียงเป็นมรดกล้ำค่าของประเทศไทย แต่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสถานที่สำคัญทรงคุณค่าในระดับโลก

    วัดโพธิ์

    ประวัติความเป็นมาของวัด

    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชหรือวัดโพธิ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก เดิมมีชื่อว่า วัดโพธาราม เป็นวัดโบราณที่ราษฎรสร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2231-2246 ต่อมาในสมัยธนบุรีพระเจ้าตากสินมหาราชทรงยกฐานะขึ้นเป็นพระอารมหลวงมีพระราชาคณะปกครองตั้งแต่นั้นมา

    ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้มีการบูรณะวัดใหม่ซึ่งใช้เวลาสร้าง 7 ปี 5 เดือน 18 วัน พระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 ในปีพ.ศ. 2374 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิสังขรณ์วัดอีกครั้งใช้เวลา 16 ปี จึงเสร็จสมบูรณ์ ต่อมาพระบาทสมเด็จจอมเกล้าเจ้ายู่หัวทรงปฏิสังขรณ์พระรัศมีพระพุทธไสยาสน์ และทรงเปลี่ยนชื่อวัดเป็น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พร้อมทั้งทรงสถาปนาพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 4 ขึ้นในวัดองค์หนึ่งเรียกว่าเจดีย์รัชกาลที่ 4 ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมอบให้กระทรวงโยธาธิการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดยมีกรมศิลปากรเป็นผู้ควบคุมการบูรณะปฏิสังขรณ์จนถึงปัจจุบัน การบูรณะใหญ่ครั้งที่ 2 ดำเนินการในสมัยรัชกาลที่ 5 และการบูรณะใหญ่ครั้งที่ 3 ดำเนินการในรัชกาลปัจจุบัน

    จุดเด่น
    พระพุทธไสยาส หรือพระนอนวัดโพธิ์ ซึ่งเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของวัดโพธิ์ รวมทั้งเป็นความงดงามที่ปรากฏออกสู่สายตาชาวโลก เป็นพระพุทธรูปนอนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯและใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย พระบาทของพระพุทธรูป มีการประดับมุกเป็นภาพมงคล 108 ประการ ลายมงคล 108 ประการ ได้แก่ ปราสาท หอยสังข์ ช้างแก้ว นก หงส์ ภูเขา เมฆ ฯลฯ ตรงกลางเป็นรูปกงจักร แสดงถึงพระบุญญาบารมีอันแรงกล้า

    หากไปวัดโพธิ์จะมีธรรมเนียมปฎิบัติดังนี้
    การแต่งกาย ไม่สวมกางเกงขาสั้นเหนือหัวเข่าและไม่ควรสวมเสื้อเปิดไหล่ เนื้อผ้าไม่ควรเป็นผ้าที่บางเกินไปและไม่ควรเป็นชุดที่รัดรูป หากใส่กางเกงขาสั้นและต้องการเข้าไปภายในวัด ควรเข้าไปใช้บริการเช่าชุดที่วัด
    รองเท้า ต้องถอดรองเท้าก่อนที่จะเดินเข้าใปวิหารพระนอน ควรสวมใส่รองเท้าที่สบายๆและถอดได้ง่าย ซึ่งก่อนเข้าจะมีถุงผ้าให้ใส่เก็บรองเท้าแล้วเดินถือเข้าไปได้ ขาออกมานำถุงไปเก็บยังจุดทางออก

    เวลาเปิดทำการ
    เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 08:00-18:30 น. ชาวไทยไม่มีค่าเข้า นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติค่าเข้าท่านละ 100 บาท

    การเดินทาง
    การเดินทางที่สะดวกที่สุดของแนะนำเป็น การนั่ง MRT แล้วมาลงที่สถานีสนามไชย ออกมาที่มิวเซียมสยาม และเดินเท้าไปอีกนิดนึงไม่ไกลมากเราก็จะเจอกับวัดโพธิ์ โดยวัดแห่งนี้ เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 08.00 น.-16.30 น. ของทุกวัน โดยนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีค่าเข้าชมคนละ 200 บาท สำหรับคนไทยเข้าชมฟรีค่ะ
    แผนที่ google : https://goo.gl/maps/zsjjxFjXU39ZfKQx5

    วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)

    เป็นอีกวัดหนึ่งที่หากใครมาถึงกรุงเทพมหานคร พลาดไม่ได้เลยก็คือ วัดพระแก้วหรือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แวะเข้ามาไหว้พระแก้วมรกตองค์งาม ที่อัญเชิญมาจากอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ หรือ ประเทศลาวในอดีต วัดพระแก้วถือได้ว่าเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทยเราอีกด้วย

    วัดพระแก้ว

    ภาพจาก th.trip.com/hot/วัดพระศรีรัตนศาสดาราม/

    ประวัติความเป็นมาของวัด

    วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว ถูกสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างพระบรมมหาราชวัง และการสถาปนาให้กรุงเทพมหานครถือเป็นราชธานี ในสมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบรมมหาราชวังเป็นพระราชนิเวศน์แห่งแรกในกรุงเทพฯ รัชกาลที่ 1 ได้ทรงสถาปนาขึ้นในวันที่ 6 เดือนพฤษภาคม ปีพ.ศ. 2325 ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับพระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีบนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา
    โดยวัดสร้างตามประเพณีการสร้างพระอารามหลวงในเขตพระราชวังที่มีมาตั้งแต่อดีตก็คือ วัดมหาธาตุ ในสมัยกรุงสุโขทัย และ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยจะเป็นวัดที่ไม่มีเขตสังฆาวาส เนื่องจากเป็นวัดสำคัญ จึงต้องมีการปฏิสังขรณ์ใหญ่ทุกๆ 50 ปี มีการซ่อมแซม และสร้างเพิ่มเติม

    จุดเด่น
    พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือ พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย โดยมีการประดิษฐานในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีการแกะสลักจากหยกอ่อนเนไฟรต์สีเขียวดังมรกต ที่มีความงดงามทรงคุณค่า เป็นศิลปะสมัยก่อนเชียงแสนถึงศิลปะเชียงแสน

    การเดินทาง
    รถโดยสารประจำทางได้แก่สาย 1, 3, 9(ท่าน้ำภาษีเจริญ-ศรีย่าน), 15(เดอะมอลล์ท่าพระ-บางลำภู), 30(นนทบุรี-สายใต้), 32(ปากเกร็ด-วัดโพธิ์ (ท่าเตียน)), 33(ปทุมธานี-สนามหลวง), 43(ศึกษานารี 2-เทเวศร์), 44(แฮปปี้แลนด์-ท่าเตียน), 47(ท่าเรือคลองเตย-กรมที่ดิน (ราชินี)), 53(วงกลมรอบเมือง-เทเวศน์), 64(นนทบุรี-สนามหลวง), 91(หมู่บ้านเศรษฐกิจ-ท่าช้าง), 203(ท่าอิฐ-สนามหลวง), 503(ม. รัตนโกสินทร์ 200 ปี-สนามหลวง), 512(หมอชิต 2-ปากคลองตลาด)

    หากใครสะดวกรถส่วนตัว สามารถนำรถไปจอดไว้ที่พื้นที่ใกล้เคียงเนื่องจากไม่สามารถนำรถไปจอดภายในวัดได้ เช่น ได้แก่ ท่ามหาราช ซอยทัพเพ็ญ ที่จอดแนวรถถนนราชดำเนิน และอาคารจอดรถวัดระฆัง
    วัดพระแก้วเปิดให้เข้าชม 08.30-15.30 น. สำหรับคนไทย เพียงโชว์บัตรประชาชนก็สามารถเข้าชมฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ส่วน ชาวต่างชาติค่าเข้าชม บัตรราคา 500 บาท
    แผนที่ google : https://goo.gl/maps/6C6y9CvAPmtjC7Ft9

    10 รายชื่อวัดดังของไทย ที่ควรไปเยือนให้ได้สักครั้ง